ประเภทของพลาสติก แบ่งออกตามการใช้งานได้เป็นกี่ชนิด พลาสติกหรือเม็ดพลาสติกเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อใช้แทนวัสดุธรรมชาติ พลาสติกบางรูปแบบเมื่อเย็นก็จะเกิดการแข็งตัว เมื่อสัมผัสความร้อนก็จะอ่อนตัว หรือบางรูปแบบก็จะแข็งตัวถาวร มีหลากหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นยางเทียม ไนลอน ที่ใช้ในการทำสิ่งต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ภาชนะ เสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ ส่วนประกอบของยานพาหนะ หรือฟิล์มยืด ทั้งนี้เราควรที่จะเลือกใช้พลาสติกให้เหมาะสมกับประเภทและการใช้งานเพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด ดังนั้นเราไปทำความรู้จักประเภทของพลาสติก เพื่อที่จะนำไปเป็นแนวทางในการใช้งานเม็ดพลาสติกกัน
ประเภทของพลาสติก
ถ้าหากจัดแบ่งเม็ดพาสติกออกตามสมบัติทางด้านความร้อน สามารถที่จะจัดแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic) และ เทอร์โมเซตติ้ง (Thermosetting) โดยมีรายละเอียดแต่ละประเภท ดังต่อไปนี้
- เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic)
เทอร์โมพลาสติก หรือที่เรียกกันว่าเรซิน เป็นพลาสติกที่ได้รับความนิยมอย่างมากและใช้กันอย่างแพร่หลาย เทอร์โมพลาสติกถ้าหากได้รับความร้อนจะอ่อนตัว และเมื่อเย็นก็จะเกิดการแข็งตัว สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงรูปได้ โดยพลาสติกรูปแบบนี้โครงสร้างโมเลกุลจะเป็นลักษณะโซ่ตรง มีการเชื่อมต่อระหว่างโซ่พอลิเมอร์ค่อนข้างน้อยมากจึงสามารถที่จะหลอมเหลว เมื่อผ่านการอัดแรงมากจะไม่ทำลายโครงสร้างเดิมเช่นเดิม เม็ดพลาสติกประเภทนี้จะสามารถขึ้นรูปได้โดยการฉีดในขณะที่พลาสติกถูกนำมาทำให้อ่อนตัวและไหลไปด้วยความดันและความร้อน โดยพลาสติกที่อยู่ในประเภทเทอร์โมพลาสติก สามารถจัดแบ่งได้ดังต่อไปนี้
- พอลิเอทิลีน (Polyethylene: PE)
เป็นเม็ดพลาสติกที่ไอน้ำซึมผ่านเข้ามาได้เล็กน้อย อากาศสามารถที่จะผ่านเข้าออกได้ มีลักษณะทนความร้อน ขุ่น ถูกนมาใช้ในการผลิตท่อน้ำ ถุง ขวด ถัง หรือแท่นรองรับสินค้า
- พอลิสไตรีน (Polystyrene: PS)
เป็นเม็ดพลาสติกที่มีความเปราะ โปร่งใส ทนต่อด่างและกรด นำมาใช้สำหรับการทำเครื่องใช้สำนักงาน ชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
- พอลิโพรพิลีน (Polypropylene: PP)
เป็นเม็ดพลาสติกที่มีทนต่อความร้อน ทนต่อสารไขมัน ใช้สำหรับการผลิตหลอดดูดพลาสติก และถุงพลาสติกสำหรับบรรจุอาหาร
- SAN (styrene-acrylonitrile)
เป็นพลาสติกที่มีความโปร่งใส สำหรับการใช้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า
- ABS (acrylonitrile-butadiene-styrene)
เป็นพลาสติกที่ทนทานต่อสารเคมี มีลักษณะที่โปร่งใส เหนียว ใช้สำหรับการผลิตถาด ถ้วน จาน เป็นต้น
- พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride: PVC)
เป็นพลาสติกที่มีลักษณะใส สามารถป้องกันได้เป็นอย่างดี ใช้ผลิตขวดบรรจุเครื่องดื่มแอลกอลฮอล์ ขวดไวน์ เบียร์ ขวดสำหรับบรรจุไขมันปรุงอาหารหรือน้ำมัน รวมไปถึงแผ่นพลาสติกต่างๆ
- พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene terephthalate: PET)
เพท พลาสติกรูปบบนี้จะมีลักษณะที่โปร่งใส เหนียวมาก มีราคาสูง ใช้สำหรับทำแผ่นฟิล์มยืด แผ่นฟิล์มบางๆสำหรับบรรจุอาหาร
- ไนลอน (Nylon)
เป็นพลาสติกที่มีความเหนียว ทนต่อความร้อนและการเพิ่มอุณหภูมิ ใช้สำหรับทำถุงพลาสติก
- พอลิคาร์บอเนต (Polycarbonate: PC)
เป็นพลาสติกที่มีลักษณะแข็ง โปร่งใส ทนต่อแรงกระแทกและแรงยึก ทนต่อกรดแต่ไม่ทนด่าง สามารถทนต่อความรู้ได้ดี ใช้สำหรับทำถ้วย ชาม จาน ขวดบรรจุอาหารของเด็ก
- เทอร์โมเซตติ้ง (Thermosetting)
เทอร์โมเซตติ้ง เป็นพลาสติกที่จะมีโครงสร้างเป็นร่างแห มีสมบัติพิเศษ คือสามารถที่ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและสามารถทนต่อปฏิกริยาทางเคมีได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเกิดรอยเปื้อนได้ยาก ทนความร้อนและทนความดัน เปลี่ยนแปลงรูปร่างไม่ได้ ไม่มีการอ่อนตัว เมื่อเจออุณหภูมิสูงก็จะไหม้และแตกเป็นขี้เถ้าสีดำ พลาสติกรูปแบบจะเกิดรอยเปื้อนและคราบได้ยาก การที่จะทำให้พลาสติกประเภทนี้ให้เป็นรูปร่างต่างๆจะต้องใช้ความร้อนที่สูง แรงอัดที่มาก เทอร์โมเซตติ้งพลาสติกสามารถจัดแบ่งออกได้ดังต่อนี้
- เมลามีน ฟอร์มาลดีไฮด์ (melamine formaldehyde)
เป็นพลาสติกที่มีสมบัติทางเคมี สามารถที่จะทนแรงดัน ทนแรงกระแทก ทนความร้อนและทนปฏิกิริยาได้อย่างดี เกิดรอยเปื้อนและคราบยาก ใช้สำหรับการทำภาชนะบรรจุ ซึ่งจะมีความสวยงามและสีเรียบดูดี
- ฟีนอลฟอร์มาดีไฮต์ (phenol-formaldehyde)
เป็นพลาสติกที่สามารถต้านทานต่อตัวที่ทำละลายสายละลายน้ำมันและเกลือ ใช้สำหรับทำหม้อและฝาจุกขวด
- อีพ็อกซี (epoxy)
ใช้สำหรับการเคลือบผิวของอุปกรณ์ที่อยู่ในภายครัวเรือน ใบ้เชื่อมส่วนประกอบต่างๆที่เป็นแก้ว เซรามิกและโลหะ ใช้ในการทำวัสดุซีเมนต์ ปูนขาว และเคลือบผิวถนนเพื่อป้องกันความลื่น
- พอลิเอสเตอร์ (polyester)
ใช้สำหรับการเคลือบผิวพลาสติกประเภทฟิล์มยืดและยาง ขวดน้ำ เส้นใย
- ยูรีเทน (urethane)
เป็นชื่อเรียกโดยทั่วไปของเอทิลคาร์บาเมต
- พอลิยูรีเทน (polyurethane)
ใช้สำหรับการทำกาว พลาสติกและยาง รวมไปถึงน้ำมันชักเงา
กล่าวคือพลาสติกทั้งสองประเภท เทอร์โมพลาสติกจะมีลักษณะเป็นแบบเส้น จะหลอมเหลวและอ่อนตัวเมื่อได้รับความร้อน ต้องทำให้เกิดความเย็นก่อนที่จะเอาออกจากแม่แบบ และสามารถนำมารีไซเคิลได้ แต่เทอร์โมเซตติ้งพลาสติกเป็นโพลิเมอร์แบบร่างแห เมื่อได้รับความร้อนจะแข็งตัว ไม่ต้องรอให้เย็นก็สามารถที่จะเอาออกจากแม่แบบได้ และไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้
และนี่ก็เป็นประเภทของพลาสติกที่แต่ละรูปแบบก็จะลักษณะ สมบัติที่แตกต่างกันออกไป รวมไปถึงวิธีการใช้งานที่เหมาะสมในแต่ละประเภทและรูปแบบต่างๆ เพราะฉะนั้นเราจึงควรที่จะศึกษาพลาสติกแต่ละชนิดให้ละเอียดก่อนการใช้งาน เพื่อที่จะทำให้เราสามารถนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงที่สุดนั่นเอง
Leave a reply